Tuesday, July 7, 2015

การอาศัยเพศ


การขยายพันธุ์พืช
     
 การขยายพันธุ์พืช คือการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้ได้จำนวนมากพอกับ
ปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น  โดยพืชต้นใหม่ที่ได้ยังคงลักษณะของพันธุ์ และคุณสมบัติที่ดีไว้เหมือนเดิม อาจกล่าวได้ว่า การขยายพันธุ์พืชเป็นการช่วย
รักษาลักษณะที่ดีของพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญหาย 


การขยายพันธุ์พืชมี 2 แบบ คือ
       1. แบบอาศัยเพศ

       2. แบบไม่อาศัยเพศ










ส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ
      ดอกไม้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงจากชั้นนอกเข้าสู่ชั้นในที่สำคัญๆ 4 ส่วนต่างๆ

    
  กลีบเลี้ยง (speal)  ส่วนนี้จะอยู่นอกสุด โดยเปลี่ยนแปลงเจริญมาจากใบ มีขนาดเล็กมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ดอกไม้ขณะตูม

      กลีบดอกไม้ (Petal)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มีขนาดใหญ่กว่า
กลีบเลี้ยง ซึ่งมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยผสมเกสร 

       เกสรตัวผู้ (Stamen)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่เป็น
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มักมีหลายอันรวมกัน มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่คือ
             1. ก้านชูอับเรณู   มีลักษณะแท่งยาวทรงกระบอก มีหน้าที่ชูอับละอองเรณู
             2. อับเรณู   เป็นเม็ดเล็กๆ อยู่บนก้านชูอับเรณู   ภายในอับเรณูจะมีละออง
เรณูอยู่มากมาย มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายผงสีเหลือง
             3. ละอองเรณู   อยู่ภายในอับเรณู ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้

       เกสรตัวเมีย (Pistill)  ส่วนนี้อยู่ชั้นในสุด   ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
              1. ยอดเกสรตัวเมีย    ส่วนนี้จะมีขนเส้นเล็กๆ    และมีน้ำหวานเหนียว ๆ สำหรับดักจับละอองเรณู รวมทั้งยังใช้เป็นอาหารสำหรับการงอกของหลอดละอองเรณู
              2. ก้านเกสรตัวเมีย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้อยู่ในระดับสูงๆ
เพื่อประโยชน์ในการผสมพันธุ์     นอกจากนี้ยังเป็นทางให้ละอองเรณูแทงหลอดเรณู
ลงไปเพื่อให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์ไข่ได้
              3. รังไข่   ส่วนนี้มีออวุล ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ บรรจุอยู่ภายใน 
รังไข่หนึ่งอาจมี 1 ออวุล    หรือหลายออวุล ก็ได้ ภายในออวุี่ลเป็นแหล่งสร้าง
เซลล์ไข่ซึ่งทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย  









 แมลงมีบทบาทสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก  ขณะที่แมลง
ตอมดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำหวานในดอกไม้ ละอองเรณูจะติดไปกับส่วนต่างๆของ
แมลง เช่น ปีก ขา และส่วนปาก เมื่อแมลงบินไปเกาะดอกไม้อื่น ๆ       ก็จะนำ
ละอองเรณู  ไปติดที่ยอดเกสรตัวเมียของดอกนั้น ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู  
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ในปัจจุบันทำให้แมลงหลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์
และเป็นโทษก็จะตายไป 


     มนุษย์เราได้นำเมล็ดพืชมาขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด   ซึ่งเป็นวิธีที่
ง่ายที่สุดในการขยายพันธุ์ซึ่งจะได้พืชต้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ต้องใช้เวลานาน
ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งออกผล และต้นใหม่ที่ได้มักมีลักษณะที่แตกต่างไป
จากต้นเดิม 


           ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
           1. น้ำ   เมื่อเมล็ดถูกน้ำ น้ำจะผ่านเปลือกนอกของเมล็ดเข้าไปทำให้
ต้นอ่อนเจริญเติบโต รากของเมล็ดจะแทงออกมาได้ง่าย จากนั้นเมล็ดจะเริ่ม
พองตัวและมีแรงดันภายในมากขึ้นนจนทำให้เปลือกเมล็ดแตกออก  ต้นอ่อน
ก็จะเจริญออกมานอกเมล็ด
            2. แก๊สออกซิเจน       ขณะที่เมล็ดเริ่มงอกจะต้องการออกซิเจนใน
ปริมาณมากเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ       และสร้างพลังงานมาใช้
ในการเจริญเติบโตของต้นอ่อน
            3. อุณหภูมิที่เหมาะสม  เมล็ดจะเจริญงอกงามได้ดีในที่ที่มีอุณหภูมิ
ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิที่เหมาะนี้จะช่วยทำให้
เอนไซม์ย่อยอาหารในเอนโดสเปริม์ได้อย่างเต็มที่
            4. อาหาร แหล่งอาหารของเมล็ดที่งอกใหม่ๆ จะอยู่ที่เอนโดสเปิร์ม
หรือใบเลี้ยง
















การไม่อาศัยเพศ


การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

      การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ    เป็นวิธีการนำเอาส่วนต่างๆ ของพืชเช่น
ลำต้นใต้ดินของข่า ไหลของใบบัวบก รากของกระชาย ใบของเศรษฐีเงินหมื่น       นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยการ   การตอน  การปักชำ การติดตา
การต่อกิ่ง การทาบกิ่ง วิธีการดังกล่าวเป็นการดำรงลักษณะที่ดีของพืชนั้นไว้






 การตอน    เป็นวิธีการขยายพันธุืพืชโดยใช้กิ่งของพืช ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
             1. เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่อ่อนแอและไม่แก่เกินไป ใบงาม ไม่มีโรค
หรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ
             2. ควั่นกิ่งระหว่างข้อ เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหาร ทำให้อาหารเลี้ยงเฉพาะ
กิ่งที่ตอน และเกิดรากบริเวณรอยควั่น
             3. ทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณรอยควั่น
             4. หุ้มกิ่งตอนด้วยดินและวัสดุที่เก็บควรชุ่มชื้นได้ดี    เช่น กาบมะพร้าว
ผ้ากระสอบ ป่าน รากผักตบชวา       พันหรือหุ้มกิ่งให้แน่นพอสมควร อย่าให้หมุน
ไปมาได้ง่าย พยายามให้กลางกระเปาะวัสดุที่หุ้มอยู่ตรงบริเวณที่จะออกรากด้วย
             5. รักษาความชุ่มชื้นอยู่เสมอ     โดยการฉีกน้ำเข้าไปในกระเปาะที่หุ้ม
กระเปาะประมาณ 5-7 ครั้ง / วัน
             6. ตัดกิ่งตอนปลูกในกระถาง เลี้ยงไว้จนกระทั่งเห็นว่ากิ่งตอนแข็งแรง
จึงนำไปปลูกในบริเวณที่กำหนด







             พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เช่น   มะม่วง   ลำไย   ลิ้นจี่
ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ ละมุด เป็นต้น             

        การปักชำ  เป็นการทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากหลังจากที่ตัดกิ่งหรือต้นออกจากต้นแม่แล้ว การปักชำมีขั้นตอนดังนี้
              1. เลือกกิ่งที่มีตาและใบ เพราะใบช่วยสร้างอาหารและฮอร์โมน ช่วยในการออกรากให้แก่กิ่งปักชำ
              2. จัดวางกิ่งปักชำให้ถูกต้องตามหัวท้ายของกิ่งถ้าวางกลับทิศทางจะ
ทำให้ กิ่งไม่เกิดรากและไม่เกิดยอด
              3. ทำแผลโคนกิ่ง เพื่อให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น
              4. ทาหรือนำกิ่งจุ่มฮอร์โมนและสารกระตุ้นบางอย่างช่วยในการเกิดราก
              5. นำกิ่งไปปักชำในวัตถุที่เตรียมไว้
              6. รักษาความชื้นและแสงสว่างที่วางกิ่งปักชำ
              7. ดูแลรดน้ำให้ชุ่มจนกว่าจะเกิดราก

         พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ได้แก่ พืชประเภทดอกไม้ประดับ
และผลไม้ เช่น อ้อย พลูด่าง โป๊ยเซียน มะนาว

         นอกจากการตอนกิ่ง  และการปักชำแล้ว    ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยใช ้
การเชื่อมส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน   เพื่อให้ส่วนของพืชนั้นๆ ติดกันและเจริญ
ต่อไปเหมือนกับเป็นต้นพืชต้นเดียวกัน   ส่วนของต้นพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนบนหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก เรียกว่า กิ่งพันธุ์ดี     และส่วนของพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนล่างหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก  เรียกว่า ต้นตอ    วิธีการนี้แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ   การติดตา
การต่อกิ่ง   และการทาบกิ่ง  พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้ ได้แก่ มะม่วง
ส้มเขียวหวาน กุหลาบ พุทธา ขนุน เป็นต้น










การทาบกิ่ง
    การทาบกิ่ง   คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้



 1 เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
    2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
    3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
    4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
   5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
   6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม










การติดตา
    การติดตา    คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้


 1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
  2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
    3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
    4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
    5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก







การเสียบยอด
    การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้


  1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
    4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก 
    5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป










การตัดชำ
    การตัดชำ    คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้


   1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
    2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 รอย
    3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร
    4. นำเข้าโรงอบพลาสติก หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่
    5. ประมาณ 25 - 30 วัน กิ่งตัดชำจะแตกยอกอ่อน พร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากพอ จึงย้ายปลูกต่อไป







การต่อกิ่ง


    การต่อกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศที่สามารถทำได้โดยการนำกิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า  1  ตา มาต่อบนต้นตอ เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญทั้งสอง เชื่อมประสานเป็นต้นเดียวกัน  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่อกิ่ง จะดีกว่าการติดตามาก เพราะจะได้รอยต่อที่แข็งแรงกว่ามาก การต่อกิ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดีกับพืชบางชนิด  เช่น  เฟื่องฟ้า  ชบา  โกสน  เล็บครุฑ  มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น  ฯลฯ
    ความมุ่งหมายที่สำคัญของต่อการกิ่งพืช คือ เพื่อต้องการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชที่เป็นต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน ให้มีชีวิตและเจริญเติบโตร่วมกัน เสมือนเป็นพืชต้นเดียวกัน  ทั้งนี้  การต่อกิ่งพืช สามารถเลือกทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  ฤดูกาลและความชำนาญของผู้ต่อกิ่ง
    การต่อกิ่งมีคุณค่าและความสำคัญต่อวงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลมาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจน  ได้แก่ การเพิ่มและช่วยเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  เช่น  การเพิ่มยอดกิ่งเฟื่องฟ้าให้มีหลากหลายสี การเปลี่ยนยอดต้นโมกเขียวให้เป็นโมกด่าง   การเปลี่ยนยอดมะม่วงให้เป็นมะม่วงแฟนซี คือมีหลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน  นอกจากนี้ การต่อกิ่ง ยังเป็นการช่วยซ่อมแซมส่วนของต้นพืชที่ได้รับอันตรายจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ   รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากต้นตอที่มีลักษณะทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง   
1) พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้
2) กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ  ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น
3) รอยแผลที่ทำการเสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
4) เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่
5) ใช้แถบพลาสติกพันทับรอยเชื่อม ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าได้
6) รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด    ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำหรือความชื้น มากเกินไป
7) ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น
           ข้อควรพิจารณาในการต่อกิ่ง    ได้แก่
1) การเลือกต้นตอ  จะต้องให้มีขนาดเหมาะสมกับกิ่งพันธุ์ดี  มีความแข็งแรงปราศจากศัตรูพืช  มีระบบรากแข็งแรง และหาง่าย ราคาถูก
2) การเลือกกิ่งพันธุ์  ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์  แข็งแรง มีตา ที่ไม่ใช่ตาดอก โดยปกติ ส่วนมากจะเลือกกิ่งที่มีอายุ  1  ปี หรือน้อยกว่า
3) การเตรียมต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ในการเฉือนแผลต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ควรจะให้รอยแผลเรียบ และไม่ช้ำ (เกิดจากการผ่าหรือเฉือนหลายครั้ง จึงต้องมีความชำนาญในการเฉือนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีช้ำ)
4) การป้องกันเชื้อโรค  การทำให้เกิดบาดแผลแก่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเชื้อโรค จึงต้องระวังในเรื่องของความสะอาดโดยเฉพาะ มีดต้องสะอาดและคม
5) การวางแนวเยื่อเจริญระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ต้องอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้รอยประสานเกิดได้เร็วขึ้น
6) การบังคับให้กิ่งพันธุ์ดีเติบโต ภายหลังต่อกิ่ง  จะต้องทำการบังคับ เพื่อป้องกันการลำเลียงออกซิเจนจากกิ่งยอด ลงมายังกิ่งข้าง ทำให้เกิดลักษณะที่ตายอด ข่มตาข้าง โดยการบากเหนือรอยต่อให้ลึกถึงเนื้อไม้
7) ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับต่อกิ่ง ควรเป็นระยะที่พืชมีเจริญเติบโตดี  โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว  รองลงมา คือ กลางฤดูฝน

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อกิ่ง
1)  ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
2)  ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
3)  มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์  กรรไกรตัดแต่งกิ่ง  พลาสติกพันกิ่ง
4)  วัสดุที่ใช้ในการคลุมกิ่ง เช่น เชือก ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ถุงกระดาษคลุมกิ่ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการต่อกิ่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการต่อกิ่ง










การเพาะเนื้อเยื่อ


เทคโนโลยีชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพืช

        ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามาก นักวิทยาศาสตร์
ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยในการขยายพันธุ์  และปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตพืช    และปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรให้ได้
คุณลักษณะตามที่มนุษย์ต้องการ

         เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)      คือการนำเอาสิ่งที่มีชีวิตหรือ
ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตได้แก่ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ความรู้หรือเทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์   โดยเฉพาะกระบวนการทาง
ชีววิทยาศาสตร์เพื่อผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
         เทคโนโลยีชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 แบบกว้าง ๆ คือ
         1. เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม   เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์รู้จักกัน
มานานไม่ต้องใช้เทคนิควิธี    การทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางชีววิทยา
ชั้นสูงมากนัก   เช่น     การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในกระบวนการทางชีววิทยา
ในการหมักดองอาหารและการผลิตปุ๋ยหมัก การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมกำจัด
ศัตรูพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
         2. เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่  เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ต้องใช้ความรู้ทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิควิธีการทางชีววิทยาชั้นสูง  เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการ
ตัดแต่งสารพันธุกรรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพื่อก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต    ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
ได้แก่ การโคลนนิ่ง การตัดต่อจีนในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

         สำหรับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชใน
ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และ GMOs

         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช  เพื่อให้ได้จำนวน
มากในระยะเวลาอันสั้น โดยเป็นการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเฉพาะส่วนเท่านั้น ไม่ใช้่
พืชทั้งต้น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช   ทำโดยนำเอาเนื้อเยื่อของพืชในส่วนที่กำลัง
เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว    เช่น ที่ปลายยอดอ่อน   ตาข้าง ดอก ใบ เนื้อเยื่อ หรือ
ส่วนประกอบของพืชที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญมา เพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่อยู่ใน
สภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งเป็นอาหารที่เนื้อเยื่อนั้นต้องการ  พร้อมทั้งสารที่กระตุ้น โดย
จัดและควบคุมสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อ มีอุณหภูมิ ความชื้น และ
แสงสว่าง ที่ต้องเอื้อต่อชิ้นส่วนของพืชจะเจริญเติบโตได้
         การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อนั้น ๆ    ทำให้เซลล์ของพืชแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
มากมายเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า  แคลลัส (Callus)         เราจึงสามารถบังคับให้
เนื้อเยื่อนี้เจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นอ่อนได้เมื่อมีสภาวะที่ เหมาะสมและแบ่งเนื้อเยื่อ
เหล่านี้ ไปเลี้ยงในอาหารใหม่จนเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จำนวนมากมายตามต้อง
การ  วิธีนี้ใช้กันมากในการกระจายพันธุ์พืชบางชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เช่น กล้วยไม้ หน้าวัว ต้นสัก หวาย กล้วย ข้าว เป็นต้น
         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์    เพื่อให้พืชผลิตสาร
สำคัญบางชนิด เช่น   ยารักษาโรค หรือเพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะพึงประสงค์   เช่น การใช้สารเคมีหรือรังสี   ชักนำให้พืชที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่ง
อาจทำให้ได้ดอกหรือผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 











GMOs     (Genetic Modified Organism) 
          เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ได้แก่การใช้
วิธีทางพันธุวิศวกรรม โดยการตัดต่อ จีน (Gene) ที่เรียกว่า GMOs เป็นการ
ดัดแปลงสารพันธุกรรมหรือการตัดแต่งจีน      โดยการตัดเอาชิ้นส่วนของจีนที่
ต้องการของพืช สัตว์     หรือจุลินทรีย์ไปใส่ในโครโมโซมภายในเซลล์ของพืช เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ แล้วนำเซลล์ใหม่ไปเพาะเลี้ยง จะได้พันธุ์พืชที่มีจีนซึ่งมีี
คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น คุณสมบัติในการต้านทานต่อสารเคมี คุณสมบัติ
ในการต้านทานแมลง เป็นต้น พืชที่ได้เรียกว่า พืชจำลองพันธุ์   พืชที่นำมาใช้
ในการตัดแต่งจีนในปัจจุบัน ได้แก่ ฝ้าย มะเขือเทศ มะละกอถั่วเหลือง ข้าวโพด 
เป็นต้น


จะเห็นว่าการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุง
พันธุ์พืชนั้น        เราสามารถคัดเลือกพันธุ์โดยเจาะจงไปที่จีนที่ต้องการโดยตรง โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ก่อนแล้วคัดเลือกลูกผสมที่มีลักษณะตามที่ต้องการภายหลัง
ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลานานดังนั้น     การนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับพืช
จึงสามารถกำหนดคุณสมบัติของพืชได้ตามที่เราต้องการ     ทำให้ได้ประโยชน์
มากมายตามมา    อาจกล่าวถึงประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมา
ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุืพืชโดยสรุปดังนี้
         1. ทำให้ได้พันธุืพืชที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมี ช่วยลดการใช้สารเคมี
ทำให้ประหยัดต้นทุน และยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย
         2. ทำให้เกิดพันธุ์พืชที่ต้านทานแมลง   ช่วยลดการใช้สารเคมี    ประหยัด
ต้นทุน และรักษาสภาพแวดล้อม เช่ น ฝ้าย มะเขือเทศ เป็นต้น
         3. ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวสามารถเก็บรักษาได้นาน   เนื่องจากมีคุณสมบัติใน
การสุกงอมช้า จึงขนส่งได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น กล้วย มะเขือเทศ เป็นต้น
         4. ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
         5. ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตจำนวนมากและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
แวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

          แม้ว่าการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์   และปรับปรุง
พันธุ์พืชจะมีประโยชน์มากมาย   แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้นในอนาคตด้วย  เช่น     พืชชนิดหนึ่งมีการตัดแต่งจีนให้มีความทนทานต่อ
สารกำจัดวัชพืช ลักษณะของพืชนี้อาจจะแพร่กระจายไปสู่พืชหรือจุลินทรีย์อื่น
ทำให้เกิดการดื้อต่อสารกำจัดวัชพืชหรือจุลินทรีย์อื่น      ทำให้เกิดการดื้อต่อ
สารกำจัดวัชพืชนั้นไปด้วยหรือการใช้พืชพันธุ์ใหม่ ที่ตัดแต่งจีนทำให้พืชพันธุ์
ดั้งเดิมสูญพันธุ์ไป      สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้อง
คำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น   การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้้ในการขยายพันธุ์
และปรับปรุงพันธุ์พืช จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบและระมัดระวังเพื่อป้องกัน
ผลเสียและปัญหาที่จะตามมาในอนาคต

          ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามีบทบาท  และสามารถตอบสนองความ
ต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น   เพราะนอกจากการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้
ประโยชน์ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช  แล้วยังสามารถนำมาใช้ในด้าน
อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น  


          การเกษตร   เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงพันธุืพืชเพื่อให้ได้คุณลักษณะ
ของพืชที่ดีตามที่มนุษย์ต้องการ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีลักษณะทนต่อความ
แห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกในที่ที่ขาดน้ำซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความ
สามารถในการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่ี่เหมาะสม      นอกจากนี้ยัง
สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร   เช่น   สี   และขนาด
รวมถึงรูปร่างผลผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้อีกด้วย เช่น การปรับปรุง
พันธุ์มะเขือเทศให้มีสีแดงสดและมีปริมาณเนื้อมะเขือเทศสูง เป็นต้น นอกจากนี้
ยังทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตให้อยู่ได้นานเนื่องจากการสุกงอมช้า   สามารถ
ส่งไปขายได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย   เช่น มะเขือเทศที่ยืดอายุการสุกงอม เป็นต้น
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรได้    เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลา
ไม่ให้เกิดความเสียหายในการขนส่งระยะทางไกลได้

          อุตสาหกรรม     เทคโนโลยีชีวภาพถูกนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมการ
ผลิตเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ในการ
เปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ  เรียกกระบวนการนี้ว่า
การหมักดอง เช่น ไวน์ เบียร์ เกิดจากการหมักแป้งและน้ำตาลด้วยยีสต์ เป็นต้น 

          การผลิตอาหาร     ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสูงมากในการยก
ระดับมาตรฐานการผลิตอาหารให้มีคุณภาพสูงขึ้น       การนำผลิตภัณฑ์จากพืช
จำลองพันธุ์มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารจะช่วยให้ได้คุณภาพของอาหาร
ตามที่มนุษย์ต้องการ เนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณสารประกอบที่ต้องการได้
เช่น    การผลิตอาหารเพื่อเพิ่มวิตามินหรือเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้อาหารมี
คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เป็นต้น

          การแพทย์    เทคโนโลยีชีวภาพที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ คือ   การผลิตยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
ที่ทำให้เกิดโรค   นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพยังช่วยให้สามารถผลิตวัคซีนใช้
สำหรับป้องกันโรคได้อีกด้วย ตัวอย่างผลผลิตของเทคโนโลยีชีวภาพที่รู้จักกันดี
ได้แก่ อินซูลิน   ซึ่งเป็นสารควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น
โรคเบาหวาน เป็นต้น