Tuesday, July 7, 2015

การไม่อาศัยเพศ


การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

      การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ    เป็นวิธีการนำเอาส่วนต่างๆ ของพืชเช่น
ลำต้นใต้ดินของข่า ไหลของใบบัวบก รากของกระชาย ใบของเศรษฐีเงินหมื่น       นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยการ   การตอน  การปักชำ การติดตา
การต่อกิ่ง การทาบกิ่ง วิธีการดังกล่าวเป็นการดำรงลักษณะที่ดีของพืชนั้นไว้






 การตอน    เป็นวิธีการขยายพันธุืพืชโดยใช้กิ่งของพืช ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
             1. เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่อ่อนแอและไม่แก่เกินไป ใบงาม ไม่มีโรค
หรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ
             2. ควั่นกิ่งระหว่างข้อ เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหาร ทำให้อาหารเลี้ยงเฉพาะ
กิ่งที่ตอน และเกิดรากบริเวณรอยควั่น
             3. ทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณรอยควั่น
             4. หุ้มกิ่งตอนด้วยดินและวัสดุที่เก็บควรชุ่มชื้นได้ดี    เช่น กาบมะพร้าว
ผ้ากระสอบ ป่าน รากผักตบชวา       พันหรือหุ้มกิ่งให้แน่นพอสมควร อย่าให้หมุน
ไปมาได้ง่าย พยายามให้กลางกระเปาะวัสดุที่หุ้มอยู่ตรงบริเวณที่จะออกรากด้วย
             5. รักษาความชุ่มชื้นอยู่เสมอ     โดยการฉีกน้ำเข้าไปในกระเปาะที่หุ้ม
กระเปาะประมาณ 5-7 ครั้ง / วัน
             6. ตัดกิ่งตอนปลูกในกระถาง เลี้ยงไว้จนกระทั่งเห็นว่ากิ่งตอนแข็งแรง
จึงนำไปปลูกในบริเวณที่กำหนด







             พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เช่น   มะม่วง   ลำไย   ลิ้นจี่
ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ ละมุด เป็นต้น             

        การปักชำ  เป็นการทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากหลังจากที่ตัดกิ่งหรือต้นออกจากต้นแม่แล้ว การปักชำมีขั้นตอนดังนี้
              1. เลือกกิ่งที่มีตาและใบ เพราะใบช่วยสร้างอาหารและฮอร์โมน ช่วยในการออกรากให้แก่กิ่งปักชำ
              2. จัดวางกิ่งปักชำให้ถูกต้องตามหัวท้ายของกิ่งถ้าวางกลับทิศทางจะ
ทำให้ กิ่งไม่เกิดรากและไม่เกิดยอด
              3. ทำแผลโคนกิ่ง เพื่อให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น
              4. ทาหรือนำกิ่งจุ่มฮอร์โมนและสารกระตุ้นบางอย่างช่วยในการเกิดราก
              5. นำกิ่งไปปักชำในวัตถุที่เตรียมไว้
              6. รักษาความชื้นและแสงสว่างที่วางกิ่งปักชำ
              7. ดูแลรดน้ำให้ชุ่มจนกว่าจะเกิดราก

         พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ได้แก่ พืชประเภทดอกไม้ประดับ
และผลไม้ เช่น อ้อย พลูด่าง โป๊ยเซียน มะนาว

         นอกจากการตอนกิ่ง  และการปักชำแล้ว    ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยใช ้
การเชื่อมส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน   เพื่อให้ส่วนของพืชนั้นๆ ติดกันและเจริญ
ต่อไปเหมือนกับเป็นต้นพืชต้นเดียวกัน   ส่วนของต้นพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนบนหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก เรียกว่า กิ่งพันธุ์ดี     และส่วนของพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนล่างหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก  เรียกว่า ต้นตอ    วิธีการนี้แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ   การติดตา
การต่อกิ่ง   และการทาบกิ่ง  พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้ ได้แก่ มะม่วง
ส้มเขียวหวาน กุหลาบ พุทธา ขนุน เป็นต้น










การทาบกิ่ง
    การทาบกิ่ง   คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้



 1 เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
    2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
    3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
    4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
   5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
   6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม










การติดตา
    การติดตา    คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้


 1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
  2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
    3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
    4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
    5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก







การเสียบยอด
    การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้


  1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
    4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก 
    5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป










การตัดชำ
    การตัดชำ    คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้


   1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
    2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 รอย
    3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร
    4. นำเข้าโรงอบพลาสติก หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่
    5. ประมาณ 25 - 30 วัน กิ่งตัดชำจะแตกยอกอ่อน พร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากพอ จึงย้ายปลูกต่อไป







การต่อกิ่ง


    การต่อกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศที่สามารถทำได้โดยการนำกิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า  1  ตา มาต่อบนต้นตอ เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญทั้งสอง เชื่อมประสานเป็นต้นเดียวกัน  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่อกิ่ง จะดีกว่าการติดตามาก เพราะจะได้รอยต่อที่แข็งแรงกว่ามาก การต่อกิ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดีกับพืชบางชนิด  เช่น  เฟื่องฟ้า  ชบา  โกสน  เล็บครุฑ  มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น  ฯลฯ
    ความมุ่งหมายที่สำคัญของต่อการกิ่งพืช คือ เพื่อต้องการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชที่เป็นต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน ให้มีชีวิตและเจริญเติบโตร่วมกัน เสมือนเป็นพืชต้นเดียวกัน  ทั้งนี้  การต่อกิ่งพืช สามารถเลือกทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  ฤดูกาลและความชำนาญของผู้ต่อกิ่ง
    การต่อกิ่งมีคุณค่าและความสำคัญต่อวงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลมาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจน  ได้แก่ การเพิ่มและช่วยเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  เช่น  การเพิ่มยอดกิ่งเฟื่องฟ้าให้มีหลากหลายสี การเปลี่ยนยอดต้นโมกเขียวให้เป็นโมกด่าง   การเปลี่ยนยอดมะม่วงให้เป็นมะม่วงแฟนซี คือมีหลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน  นอกจากนี้ การต่อกิ่ง ยังเป็นการช่วยซ่อมแซมส่วนของต้นพืชที่ได้รับอันตรายจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ   รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากต้นตอที่มีลักษณะทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง   
1) พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้
2) กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ  ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น
3) รอยแผลที่ทำการเสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
4) เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่
5) ใช้แถบพลาสติกพันทับรอยเชื่อม ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าได้
6) รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด    ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำหรือความชื้น มากเกินไป
7) ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น
           ข้อควรพิจารณาในการต่อกิ่ง    ได้แก่
1) การเลือกต้นตอ  จะต้องให้มีขนาดเหมาะสมกับกิ่งพันธุ์ดี  มีความแข็งแรงปราศจากศัตรูพืช  มีระบบรากแข็งแรง และหาง่าย ราคาถูก
2) การเลือกกิ่งพันธุ์  ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์  แข็งแรง มีตา ที่ไม่ใช่ตาดอก โดยปกติ ส่วนมากจะเลือกกิ่งที่มีอายุ  1  ปี หรือน้อยกว่า
3) การเตรียมต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ในการเฉือนแผลต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ควรจะให้รอยแผลเรียบ และไม่ช้ำ (เกิดจากการผ่าหรือเฉือนหลายครั้ง จึงต้องมีความชำนาญในการเฉือนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีช้ำ)
4) การป้องกันเชื้อโรค  การทำให้เกิดบาดแผลแก่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเชื้อโรค จึงต้องระวังในเรื่องของความสะอาดโดยเฉพาะ มีดต้องสะอาดและคม
5) การวางแนวเยื่อเจริญระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ต้องอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้รอยประสานเกิดได้เร็วขึ้น
6) การบังคับให้กิ่งพันธุ์ดีเติบโต ภายหลังต่อกิ่ง  จะต้องทำการบังคับ เพื่อป้องกันการลำเลียงออกซิเจนจากกิ่งยอด ลงมายังกิ่งข้าง ทำให้เกิดลักษณะที่ตายอด ข่มตาข้าง โดยการบากเหนือรอยต่อให้ลึกถึงเนื้อไม้
7) ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับต่อกิ่ง ควรเป็นระยะที่พืชมีเจริญเติบโตดี  โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว  รองลงมา คือ กลางฤดูฝน

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อกิ่ง
1)  ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
2)  ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
3)  มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์  กรรไกรตัดแต่งกิ่ง  พลาสติกพันกิ่ง
4)  วัสดุที่ใช้ในการคลุมกิ่ง เช่น เชือก ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ถุงกระดาษคลุมกิ่ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการต่อกิ่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการต่อกิ่ง










No comments:

Post a Comment